น้ำรั่วซึมในบ้าน เกิดจากอะไรได้บ้าง?

Create By : 26 เมษายน 2562

น้ำรั่วซึมในบ้านเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยและสร้างความหนักใจให้กับเจ้าของบ้านเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากไม่ตรวจเช็คให้ดีตั้งแต่ครั้งแรกแล้วจะมีปัญหาตามมาอีกแน่นอน 

ก่อนแก้เราต้องทราบสาเหตุโดยหาจุดที่รั่วหรือน้ำซึมเข้ามาให้พบแล้วทำการซ่อมแซม แล้วน้ำรั่วซึมในบ้าน เกิดจากอะไรได้บ้าง? 


1.น้ำรั่วซึมที่ผนังรอยต่อระหว่างวงกบประตู-หน้าต่าง เกิดจากการแยกตัวของรอยต่อ ทำให้น้ำสามารถซึมผ่านได้ การแก้ไขขึ้นอยู่กับวัสดุของวงกบซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นวงกบอะลูมิเนียม สามารถแก้ไขโดยยิงกาวพียู (Polyurethane) ที่รอยต่อรอบวงกบประตู-หน้าต่างด้านนอก โพลียูริเทน) จากนั้นทาสีทับให้เรียบร้อย หรือบางบ้านที่ผนังใช้วัสดุพรีแคส precast ก็อาจเกิดการรั่วซึมตามรอยต่อแผ่น precast วิธีแก้ไขก็เช่นเดียวกันสามารถใช้กาวพียูยิงตามรอยต่อ 


   
รูปที่1 เกิดการรั่วซึมที่มุมวงกบหน้าต่าง



รูปที่2 พบน้ำรั่วซึม openingสำหรับต่อท่อเเอร์ บริเวณผนังพรีแคส เนื่องจากไม่ได้ยิงซิลิโคนกันน้ำเข้ารอยต่อด้านนอก

2. น้ำรั่วซึมจากท่อประปาชำรุด  ตำแหน่งที่พบส่วนมากจะเป็นบริเวณเพดานฝ้าที่มีท่อฝังด้านบน ผนังตามบริเวณที่ติดกับห้องน้ำซึ่งมีการติดตั้งท่อน้ำต่าง ๆหากพบคราบด่างน้ำขึ้นมา อาจเกิดจากท่อที่ฝังในผนังชำรุด ข้อต่อท่อรั่วหรือท่อแตกร้าว ซึ่งหากเป็นการรั่วประเภทนี้ ต้องเปิดฝ้า/ผนัง บริเวณที่พบรอยด่างน้ำ ตรวจสอบหาจุดรั่วซึมแล้วซ่อมแซมตัดต่อใหม่เท่านั้น 


รูปที่3 เกิดการรั่วซึมที่ผนังเนื่องจากแนวท่อประปาแตก



รูปที่4 น้ำรั่วซึมบนเพดานฝ้า เกิดจากน้ำรั่วท่อน้ำทิ้งเเอร์


น้ำรั่วที่มองด้วยตาเปล่าอาจไม่เห็น 

ถ้าหากรั่วซึมแล้วเกิดคราบด่างน้ำปรากฏชัดเจนเรายังสามารถเห็นด้วยตาเปล่าและหาทางแก้ไขได้ แต่ถ้าเกิดการรั่วซึมแล้วเรามองไม่เห็นล่ะ? ส่วนมากจะพบที่เพดานฝ้า มีน้ำหยดเดียว หรือสองหยด ทำให้เราอาจไม่สังเกตว่ามีการรั่วซึม ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยหากไม่ทำการทดสอบแล้วใช้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ตรวจสอบจะไม่มีทางรู้เลยว่ามีการรั่วซึมอยู่ในบ้าน ซึงวิธีนี้สามารถทดสอบ ได้โดยการขังน้ำที่ระเบียง หรือห้องน้ำชั้นบน แล้วปล่อยน้ำลงท่อน้ำทิ้ง จากนั้นปริมาณน้ำที่เราขังจำนวนมากเวลาไหลน้ำจะกระแทกตามรอยต่อท่อน้ำทิ้ง จากนั้นใช้กล้องวัดอุณหภูมิ (Thermal Camera) ตรวจสอบการรั่วซึม

รูปที่5 เพดานฝ้ามองด้วยตาเปล่า 


รูปที่6 ปรากฏคราบด่างน้ำเมื่อใช้กล้องวัดอุณหภูมิตรวจสอบ


การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน Read More...

การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ

การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ Read More...

การตรวจวัดค่าความต้านทานหลักดิน

การตรวจวัดค่าความต้านทานหลักดิน Read More...

ตรวจบ้านกับ ต.ตรวจบ้าน ลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท

Read More...