ความแตกต่างระหว่างมิเตอร์ปกติกับมิเตอร์ TOU

Create By : 14 ตุลาคม 2565


        มิเตอร์แบบปกติ จะคิดค่าไฟแบบ Progessive rate หรือแบบอัตราก้าวหน้า ราคาค่าไฟจะสูงขึ้นตามการใช้งาน ยิ่งใช้เยอะ ราคาต่อหน่วย ก็จะยิ่งสูงขึ้น


        มิเตอร์แบบ TOU (Time of Use) คิดราคาค่าไฟตามช่วงเวลาที่ใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง

1. ช่วง On Peak คือช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟมาก ได้แก่ ช่วงเวลา 09.00-22.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ วันหยุดชดเชยและวันพืชมงคลที่ตรงกับจันทร์-ศุกร์ โดยราคาค่าไฟจะสูง ประมาณ 5.2674 บาท/หน่วย

2. ช่วง Off Peak คือช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟน้อย ได้แก่ ช่วงเวลา 22.00-09.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ 00.00-24.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการ วันพืชมงคลที่ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ไม่รวมวันหยุดชดเชย โดยราคาค่าไฟจะต่ำ ประมาณ 2.1827 บาท/หน่วย

        

        หรือก็คือ ยิ่งเปลี่ยนมาใช้ไฟในช่วง Off Peak ได้ ก็ยิ่งประหยัดไฟ หากใครที่ใช้มิเตอร์แบบเก่าแล้วอยากเปลี่ยนมาใช้แบบ TOU สามารถติดต่อขอเปลี่ยนได้ที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เลย โดยมิเตอร์แบบ TOU เหมาะกับบ้านอยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้ามากในช่วง Off Peak หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถจัดการการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมตามช่วงเวลาที่ได้รับประโยชน์ได้


อ่านบทความเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ด้านล่างนี้

การตรวจสอบขั้วเต้ารับ

การตรวจตู้ไฟฟ้า

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน

อันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

การตรวจสอบเบรกเกอร์กันดูดของเครื่องทำน้ำอุ่น

หลักการเลือกขนาดสายไฟให้เหมาะสมกับขนาดของเบรกเกอร์

หน้ากากบัสบาร์และแผงกั้นเฟส

ค่าไฟขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท !!

การไล่วงจรเบรกเกอร์กันดูด

การอ่านตารางโหลด

สีสายไฟ

การตรวจวัดลำดับเฟส

การตรวจวัดค่าความต้านทานหลักดิน

การตรวจอุณหภูมิตู้ไฟฟ้า

สวิตซ์ไฟและเต้ารับอาร์ก เกิดจากอะไร ??

การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ

การตรวจสอบสาย LAN

ความแตกต่างระหว่างมิเตอร์ปกติกับมิเตอร์ TOU

ทำอย่างไร เมื่อสายดินหลุดออกจากหลักดิน ??

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ EV Charger