การตรวจตู้ไฟฟ้า

Create By : 13 ตุลาคม 2565

        เริ่มจากสายประธานหรือสายเมน ทำหน้าที่ในการนำไฟฟ้าเข้ามาในบ้าน ซึ่งรับไฟฟ้ามาจากมิเตอร์ (ความแตกต่างระหว่างมิเตอร์ปกติกับมิเตอร์ TOU) โดยจะมีแผงกั้นเฟส ไว้เพื่อป้องกันสายไฟช็อตกัน ด้านในจะมียางกันบาด เพื่อป้องกันไม่ให้สายเมนเกิดความเสียหาย 


        ถัดมาจะเป็นเมนเบรกเกอร์ ทำหน้าที่ในการควบคุมวงจรไฟฟ้าทั้งบ้าน โดยไฟจะไหลมาทางบัสบาร์ ที่มีหน้ากากบัสบาร์ ไว้ป้องกันการสัมผัสบัสบาร์โดยตรง เพื่อนำไฟฟ้าเข้าสู่เบรกเกอร์ย่อยด้านล่าง


        โดยจะมีทั้งเบรกเกอร์ธรรมดาและเบรกเกอร์กันดูด สังเกตได้จาก เบรกเกอร์ธรรมดาจะไม่มีปุ่ม Test แต่เบรกเกอร์กันดูดจะมีปุ่ม Test การทดสอบเบรกเกอร์กันดูด สามารถทำได้โดยการไล่วงจรเบรกเกอร์กันดูด และ การตรวจสอบเบรกเกอร์กันดูดของเครื่องทำน้ำอุ่น

 

      

        หลังจากไฟไหลเข้าเบรกเกอร์แล้ว ก็จะไหลไปที่สายไฟแต่ละเส้น ซึ่งสายไฟแต่ละเส้น ก็จะมี Marking tag เพื่อระบุว่าสายไฟเส้นนั้นต่อไปที่ไหน


        โดยหากเป็นระบบไฟ 1 เฟส สายไลน์จะเป็นสีน้ำตาล หากเป็นระบบไฟ 3 เฟส สายไลน์จะเป็นสีน้ำตาล ดำ เทา ตามลำดับ (ทำไมสายไฟต้องเป็นสีนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สีสายไฟ)

        

        ต้องมีบาร์นิวทรัล ซึ่งใช้สายไฟสีฟ้า และบาร์กราวน์ ซึ่งใช้สายไฟสีเขียวหรือสีเขียวแถบเหลือง (ทำไมสายไฟต้องเป็นสีนี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สีสายไฟ)

        

        ภายในตู้ไฟ ต้องมีตารางโหลด โดยภายในตารางโหลด จะระบุวงจรที่เบรกเกอร์ควบคุม ขนาดเบรกเกอร์ ขนาดสายไฟ และขนาดท่อร้อยสายไฟ ซึ่งวิธีการอ่านตารางโหลด อ่านได้ที่ การอ่านตารางโหลด

        

        การวัดแรงดันตู้ไฟ ทำได้โดยใช้เครื่อง Electrical Tester หรือ Clamp Meter ในการวัด ซึ่งการวัดแรงดันระหว่างสาย L-L ต้องมีแรงดันไฟอยู่ที่ 380-400 V การวัดแรงดันระหว่างสาย L-N ต้องมีแรงดันไฟอยู่ที่ 220-240 V การวัดแรงดันระหว่างสาย L-G ต้องมีแรงดันไฟอยู่ที่ 220-240 V และการวัดแรงดันระหว่างสาย N-G ต้องมีแรงดันไฟอยู่ที่ 0 V ถึงจะเป็นแรงดันที่ปกติ

        

        หากเป็นตู้ไฟแบบ 3 เฟส จะต้องมีการตรวจวัดลำดับเฟส โดยการใช้เครื่อง 3-Phase Rotation Tester ในการวัด หากมีการต่อลำดับเฟสที่ถูกต้อง จะขึ้นไฟที่ปุ่มสีเขียว ซึ่งหากมีการต่อลำดับเฟสที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า 3 เฟส เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาได้


อ่านบทความเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ด้านล่างนี้

การตรวจสอบขั้วเต้ารับ

การตรวจตู้ไฟฟ้า

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน

อันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

การตรวจสอบเบรกเกอร์กันดูดของเครื่องทำน้ำอุ่น

หลักการเลือกขนาดสายไฟให้เหมาะสมกับขนาดของเบรกเกอร์

หน้ากากบัสบาร์และแผงกั้นเฟส

ค่าไฟขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท !!

การไล่วงจรเบรกเกอร์กันดูด

การอ่านตารางโหลด

สีสายไฟ

การตรวจวัดลำดับเฟส

การตรวจวัดค่าความต้านทานหลักดิน

การตรวจอุณหภูมิตู้ไฟฟ้า

สวิตซ์ไฟและเต้ารับอาร์ก เกิดจากอะไร ??

การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ

การตรวจสอบสาย LAN

ความแตกต่างระหว่างมิเตอร์ปกติกับมิเตอร์ TOU

ทำอย่างไร เมื่อสายดินหลุดออกจากหลักดิน ??

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ EV Charger

ตารางวงจรและขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้าน

ตารางวงจรและขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้านRead More...

การตรวจวัดลำดับเฟส

การตรวจวัดลำดับเฟส Read More...

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน Read More...

***ตรวจเองง๊ายง่าย by ต.ตรวจบ้าน ep.2 ตรวจเต้ารับไฟเเบบง๊ายง่าย**

Read More...