การตรวจสอบขั้วเต้ารับ

Create By : 13 ตุลาคม 2565

        ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย (วสท.) กำหนดให้เต้ารับต้องมีสายดิน ตามมอก. 166-2549 โดยให้มีการจัดเรียงขั้วของเต้ารับ เป็นขั้วเฟส ขั้วนิวทรัล และขั้วสายดิน แบบทวนเข็มนาฬิกา หรือขั้วสายดินอยู่ทางด้านขวา


วิธีการตรวจสอบเต้ารับ ได้แก่

1. ตรวจความถูกต้องของหน้ากากเต้ารับ ซึ่งลำดับของขั้วสายไฟ จะเรียงแบบทวนเข็มนาฬิกา เรียงจาก L-G-N ตามลำดับ ซึ่งในประเทศไทย กำหนดให้ใช้เต้ารับแบบขั้วเฟสอยู่ด้านบน และขั้วสายดินอยู่ด้านขวา เพื่อให้ง่ายต่อการจำขั้วของเต้ารับ


2. ตรวจสอบการต่อสายไฟ ว่าถูกต้อง ตรงกับรูของหน้ากากหรือไม่ ตรวจสอบได้โดยการใช้เครื่อง Socket Tester วิธีการตรวจสอบ มีดังนี้

        - นำเครื่องเสียบเข้ากับเต้ารับที่ต้องการตรวจสอบ

        - ไฟจะแสดงผลลัพธ์ที่ตรวจสอบได้ โดยนำมาเทียบกับผลบนเครื่อง


        อันตรายจากการต่อขั้วสาย L-N สลับกัน เช่น ในการต่อปลั๊กพ่วง เนื่องจากเวลาเบรกเกอร์ตัด จะตัดที่สาย L คือเส้นที่มีไฟ แต่ถ้ามีการเดินสายไฟสลับกัน แทนที่จะตัดเส้นมีไฟ แต่ตัดเส้นที่ไม่มีไฟแทน ทำให้ถึงแม้ว่าจะปิดสวิตช์ที่ปลั๊กพ่วงแล้ว ปลั๊กพ่วงก็ยังมีไฟอยู่เช่นเดิม แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงาน เนื่องจากไม่ครบวงจร อาจทำให้เกิดไฟดูดได้ ซึ่งอันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ อันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด

        อันตรายจากการต่อขั้วสาย L-G สลับกัน คือ โดยปกติสายดินมีหน้าที่นำกระแสไฟรั่วให้ลงดิน แต่ถ้าหากมีการต่อผิด ทำให้มีแรงดันไฟที่เปลือกนอกส่วนโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา หากมีคนไปสัมผัส อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

3. ตรวจการตัดไฟของเบรกเกอร์กันดูด ด้วยการจำลองเหตุการณ์ไฟรั่วจากเครื่อง Socket Tester วิธีการตรวจสอบ มีดังนี้

        - กดปุ่ม GFCI TEST

        - หากเบรกเกอร์มีการ Trip หรือ Off แสดงว่าเบรกเกอร์สามารถใช้งานได้ตามปกติ

        โดยเบรกเกอร์กันดูด สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีอื่นอีก ได้แก่ การไล่วงจรเบรกเกอร์กันดูด และ การตรวจสอบเบรกเกอร์กันดูดของเครื่องทำน้ำอุ่น

 

อ่านบทความเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าภายในบ้านอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ด้านล่างนี้

การตรวจสอบขั้วเต้ารับ

การตรวจตู้ไฟฟ้า

การตรวจสอบไฟฉุกเฉิน

อันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

การตรวจสอบเบรกเกอร์กันดูดของเครื่องทำน้ำอุ่น

หลักการเลือกขนาดสายไฟให้เหมาะสมกับขนาดของเบรกเกอร์

หน้ากากบัสบาร์และแผงกั้นเฟส

ค่าไฟขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท !!

การไล่วงจรเบรกเกอร์กันดูด

การอ่านตารางโหลด

สีสายไฟ

การตรวจวัดลำดับเฟส

การตรวจวัดค่าความต้านทานหลักดิน

การตรวจอุณหภูมิตู้ไฟฟ้า

สวิตซ์ไฟและเต้ารับอาร์ก เกิดจากอะไร ??

การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ

การตรวจสอบสาย LAN

ความแตกต่างระหว่างมิเตอร์ปกติกับมิเตอร์ TOU

ทำอย่างไร เมื่อสายดินหลุดออกจากหลักดิน ??

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ EV Charger

ตารางวงจรและขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้าน

ตารางวงจรและขนาดสายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้านRead More...

5 ข้อควรปฏิบัติ ปลอดภัยจากไฟฟ้าในบ้าน

Read More...

12 ข้อบกพร่อง งานหลังคาที่พบบ่อย

Read More...

ค่าไฟขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท !!

ค่าไฟขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท !!Read More...